Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

ข้อมูลทั่วไป
 
ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์/พันธกิจ ตราสัญลักษณ์
  • ตามหลักฐานที่อ้างอิงตําบลทุ่งหลวงน่าจะขึ้นตรงภายใต้การปกครองของแขวงลําพูนซึ่งมีฐานะคล้ายคลึงกับ อําเภอในสมัยปัจจุบัน ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตําบลทุ่งหลวงจึงขึ้นตรงกับอําเภอบ้านนา

    ต่อมาปี พ.ศ.2481 – 2511 จึงมาอยู่ภายใต้การปกครองของอําเภอบ้านนาสาร วันที่ 1 เมษายน 2511 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะให้มีกิ่งอําเภอเวียงสระขึ้น ตําบลทุ่งหลวงจึงตกมาอยู่ภายใต้เขตการปกครองของ กิ่งอําเภอเวียงสระ เมื่อ พ.ศ.2515 และจนถึงปัจจุบัน

    ตําบลทุ่งหลวง คําว่า “ทุ่งหลวง” น่าจะสันนิฐานมาจากการได้รับอิทธิพลภายใต้อายธรรม เมื่อประมาณหนึ่งพันปีเศษ มีตํานานเล่าว่ากษัตริย์ผู้ปกครองเมืองมัธยมประเทศ (อินเดีย) มีพระนามว่า “ศิริธรรมโศกราช” ได้ทราบข่าวการ สร้างพระบรมธาตุ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า จึงได้ยกพลโยธาฝ่าทะเล มีเรือน้อยใหญ่หลายร้อย ลํามีนักพรต นักบวช – ชีพราหมณ์ติดตามเสด็จเมื่อยกพลขึ้นบกได้แบ่งแยกเป็น 2 พล พลแรกพระองค์ให้นําพลเข้าทาง สร้างท่าไทร ดังปรากฏหลักฐานการสร้างวัดควนท่าแร่ พลที่ 2 ภายใต้การบัญชาของพระองค์เอง โดยเสด็จขึ้นตาม แควแยกน้ําใสไหลสะอาด พระองค์ก็ทรงเสวยน้ําในคลองนี้ น้ํารสจืดสนิท จึงทรงเปล่งวาจาว่ารสหวานปานน้ําตาล แควแยกนั้นต่อมาในทุกวันนี้ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “คลองตาล” หลังจากนั้นพระองค์ทรงได้สร้างเมืองไว้ในดงตาล เป็นเมืองหน้าด่านระวังเกี่ยวกับภัย เดี๋ยวนี้เรียกว่า ”เกาะด่าน” (ปัจจุบันอยู่หลังบ้านอาจารย์น้อย เพชรน้อย) ในครั้ง นั้นสันนิฐานว่าพระองค์ทรงเกณฑ์ทหารและประชาราษฎร์แยกออกไปหาที่อาศัยทํานา – ไร่เพื่อมีอาหารไว้เลี้ยงไพร่พล แล้วลงมือขุดคูทดน้ําดัดแปลงที่ดินเป็นที่ทํานาจนราบเตียน เรียกว่า “ทุ่งหลวง” ซึ่งหมายถึงที่ทํานาของพระมหากษัตริย์ จากนั้นได้ทรงสร้างวัดข้างหนอง(หนองสระ) แล้วทรงให้ชื่อว่า ”วัดนาพอ” (ตั้งอยู่ ม.15 ต.ทุ่งหลวง) ในปัจจุบัน

  • พันธกิจ (Mission)

    ๑. ส่งเสริมให้ประชาชนในสังคมมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยโดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน

    ๒. สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น แสวงหาและส่งเสริมปราชญ์ชาวบ้าน จัดรวบรวมองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้อย่างเป็นระบบง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

    ๓. สร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขภายใต้ความเปลี่ยนแปลงรวดเร็วของสังคมยุคปัจจุบันและอนาคต

    ๔. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างครบถ้วน ทั่วถึง และเป็นธรรม

    ๕. สนับสนุนกรประกอบอาชีพของประชาชน กลุ่มอาชีพ และวิสาหกิจชุมชน

    ๖. สร้างเครือข่ายกรดูแลผู้ด้อยโอกาสในชุมชนและสนับสนุนสวัสดิการด้านต่างๆ ให้แก่ประชาชนตามความเหมาะสมแก่สถานะ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

    ๗. พัฒนาศักยภาพของประชาชนให้มีคุณภาพ คุณธรรม สร้างความรักสามัคคีของประชาชนในชุมชม สร้างความเป็นพลเมืองให้กับประชาชนเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

    ๘. เสริมสร้างสุขภาพพลานามัยแก่ประชาชน สร้างนิสัยรักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และสนับสนุนความเป็นเลิศทางด้านกีฬาแก่ประชาชนที่มีความสามารถก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพ

    ๙. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ รักษาความสะอาดของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน

    ๑๐. ส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชน

    ๑๑.นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของท้องถิ่นและประชาชน

    ๑๒. สร้างจิตสำนึกการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น และสร้างกระบวนการตรวจสอบให้มีความเข้มแข็ง

     

    เป้าหมาย

    ๑. สร้างสังคมในตำบลทุ่งหลวง ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    ๒. สนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลและสังกัดอื่นๆรวมถึงการศึกษาตามอัธยาศัย

    ๓. เพิ่มโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีและการสื่อสารสมัยใหม่ให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

    ๔. สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน

    ๕. จัดรวบรวมองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้อย่างเป็นระบบง่ายต่อการสืบค้นข้อมูล

    ๖. เสริมสร้างการเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขภายใต้ความเปลี่ยนแปลง

    ๗. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ

    ๘. สนับสนุนการประกอบอาชีพของประชาชน กลุ่มอาชีพ และวิสาหกิจชุมชน

    ๙. สร้างเครือข่ายการดูแลผู้ด้อยโอกาสในชุมชน